มะนิลา ฟิลิปปินส์ (26 กรกฎาคม 2561) – กรรมการบริหารธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) หรือ เอดีบี ได้อนุมัติแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวฉบับใหม่ ได้แก่ แผนยุทธศาสตร์ 2030 (Strategy 2030) ซึ่งได้กำหนดวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์เพื่อตอบสนองความต้องการที่พัฒนาไม่หยุดยั้งในเอเชียและแปซิฟิก

“เอเชียและแปซิฟิกมีความก้าวหน้าอย่างมากในการลดปัญหาความยากจนและทำให้เศรษฐกิจเติบโตในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษ อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นการพัฒนาอื่นๆ อีกที่ยังไม่ลุล่วง” นายทาเคฮิโกะ นาคาโอะ ประธานเอดีบีกล่าว “ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ 2030 เราจะรวมการเงิน ความรู้ และความเป็นพันธมิตรเข้าด้วยกัน เพื่อรักษาความพยายามของเราในการขจัดปัญหาความยากและขยายวิสัยทัศน์เพื่อมุ่งสู่ภูมิภาคที่รุ่งเรือง ครอบคลุมทุกภาคส่วน ยืดหยุ่น และยั่งยืน”

เป้าหมายของเอดีบีสอดคล้องกับข้อตกลงหลักๆ ของโลก เช่น เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน การเงินเพื่อวาระพัฒนา ข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกรอบการดำเนินงานเซนไดเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ เป็นต้น ด้วยขนาดของเอเชียและแปซิฟิก การบรรลุข้อตกลงดังกล่าวข้างต้นจะขึ้นอยู่กับความสำเร็จของภูมิภาคเป็นหลัก

แผนยุทธศาสตร์ 2030 ตระหนักดีว่าเป้าหมายการพัฒนาของโลกที่ตั้งไว้สูงเกินไปจะต้องอาศัยการออกแบบให้เข้ากับบริบทในแต่ละท้องถิ่น เอดีบีจะปรับปรุงแนวทางการดำเนินงานที่มุ่งเน้นประเด็นปัญหาของแต่ละประเทศ (country-focused approach) ให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ส่งเสริมการใช้นวัตกรรททางเทคโนโลยีใหม่ๆ และมีการผสมผสานการปฏิบัติงานที่รวมผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายเรื่องและสาขาต่างๆ และมีการผสมผสานการดำเนินโครงการระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนของเอดีบี

เอดีบีจะยังคงสนับสนุนประเทศที่ยากจนและอ่อนไหวที่สุดในภูมิภาคเป็นลำดับแรกๆ และจะใช้แนวทางการดำเนินงานที่แตกต่างกันไปเพื่อสนองตอบต่อความต้องการที่หลากหลายของแต่ละกลุ่มประเทศ เช่น สถานการณ์ที่มีผลกระทบจากความขัดแย้งและแตกแยก เกาะเล็กๆ ที่พัฒนาเป็นรัฐ ประเทศที่มีรายได้ต่ำและรายได้ต่ำระดับปานกลาง และประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง เป็นต้น จากกลุ่มประเทศต่างๆ เหล่านี้ เอดีบีจะจัดลำดับความสำคัญ โดยจะสนับสนุนพื้นที่ที่ขาดแคลน ยากจน และอ่อนไหวก่อน

การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะการลงทุนที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ยั่งยืน ครอบคลุมทุกภาคส่วน และยืดหยุ่น จะเป็นได้รับความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ ในขณะเดียวกัน เอดีบีจะขยายการดำเนินงานในสาขาสังคม เช่น การศึกษา สุขอนามัย และการปกป้องทางสังคม อีกด้วย

การสนับสนุนของเอดีบีจะเน้นที่การดำเนินงาน 7 ด้าน ได้แก่ 1) แก้ปัญหาความยากจนและลดความไม่เท่าเทียมกันที่ยังคงมีอยู่ 2) ผลักดันความเท่าเทียมกันทางเพศให้มีความก้าวหน้า 3) รับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สร้างกลไกป้องกันภัยพิบัติและสภาพภูมิอากาศ  และสร้างความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น 4) ทำเขตเมืองให้น่าอยู่ 5) ส่งเสริมการพัฒนาชนบทและความมั่นคงทางอาหาร 6) เสริมสร้างระบบธรรมภิบาลและขีดความสามารถเชิงสถาบันให้เข้มแข็ง และ 7) ส่งเสริมการบูรณาการและความร่วมมือระดับภูมิภาค

เอดีบีจะส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศและสนับสนุนการบรรเทาผลกระทบและการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาสผ่านการดำเนินงานต่างๆ ตามพันธสัญญาของธนาคารให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 75 (ของการดำเนินงานของภาครัฐและที่ไม่ใช่ภาครัฐถัวเฉลี่ย 3 ปี) ภายในปี 2030 การจัดสรรเงินทุนของเอดีบีเองให้แก่โครงการเกี่ยวเนื่องกับสภาพภูมิอากาศจะสูงถึง 80 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วงปี 2019-2030 กรอบผลการดำเนินงานที่จัดทำขึ้นใหม่ของธนาคาร ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จกลางปี 2019 จะรวบรวมเป้าหมายการดำเนินงานอื่นๆ ที่เอดีบีให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของเอดีบีทั้ง 7 ด้าน ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ 2030 เอดีบีจะขยายการปฏิบัติการภาคเอกชนให้มีความหลากหลาย เพื่อให้มีจำนวนโครงการเท่ากับ 1 ใน 3 ของการดำเนินงานของเอดีบีทั้งหมดภายในปี 2024 นายนาคาโอะกล่าวว่า เอดีบีจะขยายการปฏิบัติการภาคเอกชนในตลาดใหม่ๆ เช่น ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง และเกาะเล็กๆ ที่พัฒนามาเป็นรัฐ  นอกจากนั้น เอดีบีจะยังส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพิ่มมากขึ้นด้วย

การปฏิบัติการภาคเอกชนของเอดีบีจะช่วย 1)ปรับปรุงมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล 2) สนับสนุนทางการเงินด้วยข้อตกลงที่สมเหตุสมผล ซึ่งไม่สามารถจัดหาได้จากตลาดเงิน 3) ปรับปรุงการออกแบบโครงการและพัฒนาผลที่ได้รับจากโครงการ และ 4) ลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น นอกจากโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นนวัตกรรมใหม่ การปฏิบัติการภาคเอกชนของเอดีบียังจะยังให้การสนับสนุนในสาขาธุรกิจการเกษตร และสาขาสังคมอื่นๆ เช่น สุขอนามัย และการศึกษา ผ่านเงินลงทุนร่วมภาคเอกชนเพิ่มเติมอีกด้วย       

เอดีบีจะยังคงเป็นผู้จัดหาเงินทุนที่เชื่อถือได้และเป็นตัวกระตุ้นในการจัดหาแหล่งเงินทุน “ตัวบ่งชี้หลักที่วัดความสำเร็จของเรา คือ ขนาดและคุณภาพของแหล่งเงินทุนเพิ่มเติมที่เราจัดหาได้นอกเหนือจากเงินทุนของเราเอง” นายนาคาโอะ กล่าวเพิ่มเติม เอดีบีตั้งเป้าจะเพิ่มการให้กู้ร่วมระยะยาวมากขึ้นภายในปี 2030 โดยทุกๆ 1 เหรียญสหรัฐของการดำเนินโครงการภาคเอกชนจะถูกสมทบด้วยเงินทุน 2.5 เหรียญสหรัฐสำหรับการให้กู้ร่วมในระยะยาว

นอกจากนี้ เอดีบีจะทำงานใกล้ชิดกับประเทศสมาชิกที่กำลังพัฒนาในการจัดทำผลิตภัณฑ์และบริการทางความรู้ที่เกี่ยวข้อง โดยจะดำเนินงานเชิงรุกในการทำวิจัย แนะนำนโยบายที่มีคุณภาพสูง พัฒนาขีดความสามารถเชิงสถาบันของประเทศสมาชิกเหล่านี้ให้เข้มแข็ง และขยายหุ้นส่วนทางความรู้ให้มากขึ้น

จากความพยายามที่ก้าวต่อไปอย่างแข็งแกร่ง ดีขึ้น และรวดเร็วขึ้น เอดีบีจะนำความทันสมัยของเทคโนโลยีที่มีอยู่มาใช้ในให้เกิดประโยชน์กับการดำเนินงานของเอดีบี  โดยจะขยายผลิตภัณฑ์และเครื่องมือเพิ่มขึ้น ทำให้ทรัพยากรบคคุลแข็งแกร่งขึ้น และผลักดันการนำดิจิตัลมาใช้ เอดีบีจะยังมุ่งมั่นที่จะทำให้พนักงานมีความหลากหลาย ซึ่งรวมถึงการส่งเสริมความเท่าเทียมกันทางเพศและการมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เคารพซึ่งกันและกัน เอดีบีจะดำเนินนโยบาย “One ADB” ซึ่งจะนำองค์ความรู้ ผู้เชี่ยวชาญจากทั่วทั้งองค์กรเข้ามาไว้ด้วยกัน และจะร่วมมือกับองค์กรพัฒนาเอกชนต่างๆ ในการออกแบบ ดำเนินงาน และติดตามโครงการทั้งหลายด้วย

ในการจัดเตรียมแผนยุทธศาสตร์ 2030 เอดีบีได้ปรึกษาหารือกับตัวแทนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลากหลายกลุ่มทั่วทุกประเทศสมาชิก ได้แก่ รัฐบาล ผู้ว่าการเอบีดี ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาชั้นนำ และองค์กรพัฒนาเอกชน

เอดีบีมุ่งมั่นในการพัฒนาภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกให้เจริญรุ่งเรือง ครอบคลุมทุกภาคส่วน ยืดหยุ่น และยั่งยืน ในขณะเดียวกัน ยังคงพยายามในการขจัดปัญหาความยากจนต่อไป  เอดีบีก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2509 และมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 67 ประเทศ โดย 48 ประเทศ มาจากประเทศในภูมิภาค ในปี 2517 การดำเนินงานของเอดีบีมีมูลค่ารวมทั้งหมด 32.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งรวมถึงการให้กู้ร่วมจำนวน 11.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ

Media Contact