มะนิลา ฟิลิปปินส์ (21 กันยายน 2565) — สี่ในห้าของเศรษฐกิจกำลังพัฒนาในเอเชียนจัดอยู่ในอันดับล่างสุดของการจัดอันดับโลกด้านสภาพแวดล้อมทางดิจิทัล (digital environment)และระบบสนับสนุนสำหรับผู้ประกอบการ ตามข้อมูลดัชนีใหม่ที่พัฒนาขึ้นโดยธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) หรือเอดีบี 

สิงคโปร์มีสภาพแวดล้อมทางดิจิทัลและระบบสนับสนุนที่ดีที่สุดในโลกสำหรับผู้ประกอบการ ตามดัชนี Global Index of Digital Entrepreneurship Systems ซึ่งเผยแพร่ในวันนี้ โดยเป็นส่วนหนึ่งของรายงานการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียฉบับล่าสุด ประจำปี 2565(Asian Development Outlook 2022 Update) สหรัฐอเมริกาจัดอยู่ในอันดับที่สอง ในขณะที่สวีเดนอยู่ในอันดับที่สามจาก 113 เศรษฐกิจที่อยู่ในรายการ แต่สำหรับ 17 ประเทศจาก 21 ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียถูกจัดอยู่ในอันดับล่างสุด ซึ่งตอกย้ำถึงความจำเป็นที่หลายๆ ประเทศนจะต้องสร้างสภาพแผู้ประกอบการด้านดิจิทัลให้ยั่งยืน

การนำเทคโนโลยีดิจิตัลมาใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจ (digitalization) เปิดโอกาสให้ธุรกิจในเอเชียและแปซิฟิกเติบโตได้ออย่างมากและยังเป็นแรงขับเคลื่อนของนวัตกรรม ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของเศรษฐกิจต่างๆ ในการบรรลุสถานะผู้มีรายได้สูง นอกจากนี้ ยังช่วยให้เศรษฐกิจมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ดังที่ได้เห็นมาแล้วเมื่อเทคโนโลยีดิจิทัลช่วยให้ธุรกิจจำนวนมากอยู่รอดจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19 และสามารถส่งเสริมการเติบโตแบบองค์รวมด้วยการลดต้นทุนในการเริ่มต้นธุรกิจ

"ผู้ประกอบการดิจิทัลช่วยให้เศรษฐกิจอยู่รอดได้ในช่วงการระบาดใหญ่ของ COVID-19 และได้กลายเป็นกลไกสำคัญของการเติบโตและนวัตกรรมให้กับโลกหลังการเกิดโรคระบาด” นาย อัลเบิร์ต พาร์ค หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเอดีบี  กล่าว “เพื่อให้สิ่งนี้เกิดขึ้น จำเป็นต้องมีสภาพแวดล้อมที่ช่วยสนับสนุนผ่านนโยบายและแรงจูงใจต่างๆ ในขณะที่สภาพแวดล้อมสำหรับผู้ประกอบการดิจิทัลในเอเชียมีความก้าวหน้าอย่างมากในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา แต่ยังคงมีช่องว่างในการพัฒนาด้านต่างๆ อีกมาก”

ดัชนีวัดคุณภาพสภาพแวดล้อมสำหรับผู้ประกอบการดิจิทัลพิจารณาจากระดับของการนำเทคโนโลยีดิจิตัลมาใช้ในการเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจใน 8 สาขา ได้แก่ วัฒนธรรม สถาบัน สภาพตลาด โครงสร้างพื้นฐาน ทุนมนุษย์ ความรู้ การเงิน และเครือข่ายต่างๆ

นอกเหนือจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล เช่น เครือข่ายบรอดแบนด์ แล้ว รัฐบาลจำเป็นต้องส่งเสริมเสถียรภาพทางการเมือง มีระบบกฎหมายที่เชื่อถือได้ สร้างตลาดที่เปิดกว้างและแข่งขันได้ และส่งเสริมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สินที่เข้มแข็ง การวิเคราะห์ของเอดีบียังแสดงให้เห็นว่าหลักนิติธรรมที่เข้มงวดมีผลในเชิงบวกต่อนวัตกรรมขององค์กร และยังได้ชี้ถึงความเชื่อมโยงระหว่างการมีการทุจริตน้อยและการเพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการรายใหม่ๆ ในตลาดด้วยเช่นกัน

สำหรับเอเชียและแปซิฟิกโดยรวมแล้ว การส่งเสริมค่านิยมและความเชื่อที่ไม่เพียงพอนั้น เป็นหนึ่งในจุดอ่อนที่ใหญ่ที่สุดของการส่งเสริมผู้ประกอบการดิจิทัลให้ยั่งยืน ตัวอย่างหนึ่ง คือ การขาดความชื่นชมจากสาธารณชนต่อบทบาทสำคัญที่ผู้ประกอบการมีต่อความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ซึ่งหนึ่งในวิธีที่จะปรับปรุงได้ คือ การพัฒนาการรับรู้ของสาธารณชนเกี่ยวกับผู้ประกอบการเพิ่มมากขึ้นผ่านการศึกษาช่องทางต่างๆ

เอดีบีมุ่งมั่นในการพัฒนาภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกให้เจริญรุ่งเรือง มีการพัฒนาอย่างทั่วถึง พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง และมีความยั่งยืน ในขณะเดียวกัน ยังคงพยายามในการขจัดปัญหาความยากจนต่อไป เอดีบีก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2509 มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 68 ประเทศ โดย 49 ประเทศ มาจากประเทศในภูมิภาค

Global Index of Digital Entrepreneurship Systems Scores

  Rank out of 113 global economies Score (0-100)
Singapore 1 81.3
United States 2 79.7
Sweden 3 79.6
Denmark 4 78.8
Switzerland 5 76.9
Netherlands 6 75.6
Finland 7 73.3
Norway 8 69.9
Luxembourg 9 69.6
United Kingdom 10 69.0
Republic of Korea 22 54.1
Malaysia 27 43.1
People's Republic of China 39 35.3
Georgia 50 28.3
Kazakhstan 52 27.4
Armenia 58 26.0
Thailand 59 25.9
Azerbaijan 60 25.5
Viet Nam 63 23.1
Indonesia 71 20.4
India 75 19.6
Philippines 79 18.5
Sri Lanka 82 17.5
Mongolia 84 17.2
Kyrgyz Republic 88 15.2
Tajikistan 95 12.8
Bangladesh 96 12.5
Pakistan 97 12.3
Cambodia 101 12.0
Nepal 104 11.5

Media Contact