มะนิลา ฟิลิปปินส์ (6 เมษายน 2565) – เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย คาดว่าจะเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 5.2 ในปีนี้ และร้อยละ 5.3 ในปี 2566 เนื่องจากการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของ อุปสงค์ในประเทศและการส่งออกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนที่เกิดจากการรุกรานยูเครนโดยรัสเซีย การระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) อย่างต่อเนื่อง และมาตรการทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐที่เข้มงวดขึ้นนั้น ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อแนวโน้มการเติบโตดังกล่าว 

รายงานการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียประจำปี 2565 (Asian Development Outlook 2022 : ADO 2022) ซึ่งเผยแพร่วันนี้ คาดว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคหลายแห่ง รวมทั้งเอเชียใต้และเอเชียตะวันออก จะกลับสู่อัตราเท่าเดิมก่อนจะเกิดโรคระบาด โดยอัตราเงินเฟ้อในภูมิภาคนี้ยังคงสามารถจัดการได้ แต่คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.7 ในปีนี้ ก่อนที่จะค่อยๆ ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 3.1 ในปี 2566 

การรุกรานยูเครนของรัสเซียนั้น ก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างรุนแรงต่อแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย โดยสงครามได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้แล้วดังจะเห็นได้จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างเช่นน้ำมัน อีกทั้งยังทำให้ตลาดการเงินโลกมีความผันผวนเพิ่มมากขึ้นด้วย นอกจากนั้น COVID-19 ยังคงส่งผลกระทบในหลายพื้นที่ของเอเชียกำลังพัฒนา โดยบางประเทศยังคงมีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอยู่ 

“เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียกำลังเริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดจากการระบาดใหญ่ของ COVID-19” กล่าวโดยนายอัลเบิร์ต พาร์ค หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำเอดีบี “อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ และการแพร่ระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ รวมถึงไวรัสต่างๆ อาจทำให้การเคลื่อนไหวนี้หยุดชะงักได้ รัฐบาลในภูมิภาคยังคงต้องระมัดระวังและเตรียมพร้อมที่จะดำเนินการเพื่อรับมือกับความเสี่ยงเหล่านี้ ซึ่งรวมถึงการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ให้กับประชากรอย่างครบถ้วนให้ได้จำนวนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  ในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่การเงินควรติดตามสถานการณ์เงินเฟ้ออย่างใกล้ชิดและตอบสนองให้ ทันการณ์” 

นอกจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ และการผ่อนคลายข้อจำกัดการเดินทางอันเป็นผลจากความก้าวหน้าของการฉีดวัคซีน การส่งออกที่เพิ่มขึ้นช่วยเป็นแรงผลักดันให้กับประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจในปีที่ผ่านมา ส่วนการส่งเงินกลับไปยังภูมิภาคนั้น ยังคงมีความเข้มแข็ง โดยเฉพาะในเศรษฐกิจที่ต้องพึ่งพาการโอนเงินกลับเข้าประเทศเหล่านี้ อย่างมาก เช่น บังคลาเทศ สาธารณรัฐคีร์กีซ ปากีสถาน และทาจิกิสถาน อีกทั้งการท่องเที่ยวระหว่าง ประเทศได้เริ่มกลับมาฟื้นตัวในเศรษฐกิจที่เปิดรับนักท่องเทียวอีกครั้ง ซึ่งรวมถึงมัลดีฟส์ ศรีลังกา และบางประเทศในภูมิภาคแปซิฟิก 

ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียส่วนใหญ่จะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องในปีนี้และในปี 2566 เศรษฐกิจในคอเคซัสและเอเชียกลางคาดว่าจะเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 3.6 โดยเฉลี่ยในปีนี้ และร้อยละ 4.0 ในปีหน้า ส่วนเศรษฐกิจที่ต้องพึ่งพาการค้าของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น คาดว่าจะเติบโตโดยรวมอยู่ที่ร้อยละ 4.9 ในปีนี้ และร้อยละ 5.2 ในปี 2566 สำหรับเศรษฐกิจภูมิภาคแปซิฟิกซึ่งพึ่งพาการท่องเที่ยวอย่างสูงนั้น คาดว่าจะเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 3.9 ในปีนี้ และร้อยละ 5.4 ในปี 2566 หลังจากเติบโตติดลบที่ร้อยละ 0.6 ในปี 2564 

เศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกนั้น คาดว่าจะเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 4.7 ในปีนี้ และร้อยละ  4.5 ในปี 2566 ในขณะที่เศรษฐกิจจีนซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคคาดว่าจะเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 5.0 ในปีนี้ และร้อยละ 4.8 ในปีหน้า ท่ามกลางการส่งออกที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่อง สำหรับเอเชียใต้นั้น คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.0 ในปี 2565 และร้อยละ 7.4 ในปี 2566 โดยอินเดียซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในอนุภูมิภาคนี้ คาดว่าจะเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 7.5 ในปีงบประมาณนี้ และร้อยละ 8.0 ในปีงบประมาณหน้า 

สำหรับเศรษฐกิจไทย เอดีบีคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 3 ในปีนี้ และขยายตัวร้อยละ 4.5 ในปี 2566 เนื่องจากเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัของเศรษฐกิจอย่างช้าๆ ตั้งแต่ 2-3 เดือนสุดท้ายของปี 2564  และคาดว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในปี 2565 อย่างไรก็ตาม การเติบโตของเศรษฐกิจยังคงมีความเสี่ยงขาลง ทั้งการระบาดรอบใหม่ของโควิด 19 โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากสายพันธุ์ใหม่ ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก รวมทั้งค่าครองชีพและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นในประเทศไทย ส่วนอัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะปรับสูงขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน โดยคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 3.3 ในปี 2565 และร้อยละ 2.2 ในปี 2566 หากความขัดแย้งระหว่างสหพันธรัฐรัสเซียและยูเครนยืดเยื้อ จะยิ่งทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับสูงขึ้นด้วย 

ADO 2022 ซึ่งเผยแพร่ในวันนี้ ได้นำเสนอบทวิเคราะห์พิเศษเกี่ยวกับการสูญเสียการเรียนรู้ (leaning losses) จากการปิดโรงเรียนอันเนื่องมาจาก COVID-19 โดยตั้งข้อสังเกตว่าการสูญเสียการเรียนรู้เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อเด็กผู้หญิงและนักเรียนจากครัวเรือนที่ยากจนอย่างไม่สมส่วนอย่างไร และส่งผลต่อศักยภาพในการสร้างรายได้ในอนาคตของพวกเขาที่น้อยลงและทำให้ความไม่เท่าเทียมกันเพิ่มขึ้นได้อย่างไร ซึ่งหัวข้อพิเศษนี้เป็นการปรับปรุงเพิ่มเติมจากการศึกษาก่อนหน้านี้ของเอดีบีเกี่ยวกับการเรียนรู้ และการสูญเสียรายได้ในภูมิภาค ซึ่งเผยแพร่ไปแล้วในเดือนเมษายน ปี 2564 ที่ผ่านมา 

เอดีบีมุ่งมั่นในการพัฒนาภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกให้เจริญรุ่งเรือง มีการพัฒนาอย่างทั่วถึง พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง และมีความยั่งยืน ในขณะเดียวกัน ยังคงพยายามในการขจัดปัญหาความยากจนต่อไป เอดีบีก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2509 มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 68 ประเทศ โดย 49 ประเทศ มาจากประเทศในภูมิภาค 

GDP growth rate and inflation, % per year

  GDP growth Inflation
  2020 2021 2022 2023 2020 2021 2022 2023
Developing Asia -0.8 6.9 5.2 5.3 3.2 2.5 3.7 3.1
 
Caucasus and Central Asia -2.0 5.6 3.6 4.0 7.7 8.9 8.8 7.1
Armenia -7.4 5.7 2.8 3.8 1.2 7.2 9.0 7.5
Azerbaijan -4.3 5.6 3.7 2.8 2.8 6.7 7.0 5.3
Georgia -6.8 10.6 3.5 5.0 5.2 9.6 7.0 4.0
Kazakhstan -2.5 4.0 3.2 3.9 6.8 8.0 7.8 6.4
Kyrgyz Republic -8.4 3.6 2.0 2.5 6.3 11.9 15.0 12.0
Tajikistan 4.5 9.2 2.0 3.0 9.4 8.0 15.0 10.0
Turkmenistan ... 5.0 6.0 5.8 10.0 12.5 13.0 10.0
Uzbekistan 1.9 7.4 4.0 4.5 12.9 10.7 9.0 8.0
 
East Asia 1.8 7.6 4.7 4.5 2.2 1.1 2.4 2.0
Hong Kong, China -6.5 6.4 2.0 3.7 0.3 1.6 2.3 2.0
Mongolia -4.6 1.4 2.3 5.6 3.7 7.1 12.4 9.3
People's Republic of China 2.2 8.1 5.0 4.8 2.5 0.9 2.3 2.0
Republic of Korea 0.9 4.0 3.0 2.6 0.5 2.5 3.2 2.0
Taipei,China 3.4 6.4 3.8 3.0 -0.2 2.0 1.9 1.6
 
South Asia -5.2 8.3 7.0 7.4 6.5 5.7 6.5 5.5
Afghanistan -2.4 ... ... ... 5.6 5.2 ... ...
Bangladesh 3.4 6.9 6.9 7.1 5.7 5.6 6.0 5.9
Bhutan -10.1 3.5 4.5 7.5 5.6 7.4 7.0 5.5
India -6.6 8.9 7.5 8.0 6.2 5.4 5.8 5.0
Maldives -33.5 31.6 11.0 12.0 -1.4 0.5 3.0 2.5
Nepal -2.1 2.3 3.9 5.0 6.2 3.6 6.5 6.2
Pakistan -1.0 5.6 4.0 4.5 10.7 8.9 11.0 8.5
Sri Lanka -3.6 3.7 2.4 2.5 4.6 6.0 13.3 6.7
 
Southeast Asia -3.2 2.9 4.9 5.2 1.5 2.0 3.7 3.1
Brunei Darussalam 1.1 -1.5 4.2 3.6 1.9 1.7 1.6 1.0
Cambodia -3.1 3.0 5.3 6.5 2.9 2.9 4.7 2.2
Indonesia -2.1 3.7 5.0 5.2 2.0 1.6 3.6 3.0
Lao Peoples Dem. Rep. -0.5 2.3 3.4 3.7 5.1 3.7 5.8 5.0
Malaysia -5.6 3.1 6.0 5.4 -1.1 2.5 3.0 2.5
Myanmar 3.2 -18.4 -0.3 2.6 5.7 3.6 8.0 8.5
Philippines -9.6 5.6 6.0 6.3 2.4 3.9 4.2 3.5
Singapore -4.1 7.6 4.3 3.2 -0.2 2.3 3.0 2.3
Thailand -6.2 1.6 3.0 4.5 -0.8 1.2 3.3 2.2
Timor-Leste -8.6 1.8 2.5 3.1 0.5 3.8 2.6 2.7
Viet Nam 2.9 2.6 6.5 6.7 3.2 1.8 3.8 4.0
 
The Pacific -6.0 -0.6 3.9 5.4 2.9 3.1 5.9 4.7
Cook Islands -5.2 -29.1 9.1 11.2 0.7 2.2 4.3 4.0
Federated States of Micronesia -3.8 -1.2 2.2 4.2 -2.9 2.0 4.6 2.0
Fiji -15.2 -4.1 7.1 8.5 -2.6 0.2 4.5 4.0
Kiribati -0.5 1.5 1.8 2.3 2.3 1.0 5.0 3.7
Marshall Islands -2.2 -3.3 1.2 2.2 -0.8 1.0 4.1 4.0
Nauru 0.8 1.5 1.0 2.4 0.9 1.2 2.3 2.2
Niue ... ... ... ... ... ... ... ...
Palau -9.7 -17.1 9.4 18.3 0.7 0.5 4.3 4.2
Papua New Guinea -3.5 1.3 3.4 4.6 4.9 4.5 6.4 5.1
Samoa -2.6 -8.1 0.4 2.2 1.5 -3.0 8.9 3.2
Solomon Islands -4.5 -0.5 -3.0 3.0 3.0 -0.2 5.0 4.0
Tonga 0.7 -3.0 -1.2 2.9 0.2 1.4 7.6 4.2
Tuvalu 1.0 1.5 3.0 3.0 1.6 6.7 3.8 3.3
Vanuatu -7.5 -1.0 1.0 4.0 5.3 2.1 4.8 3.2

... = unavailable, GDP = gross domestic product.

Note: Because of the uncertain situation in Afghanistan, no estimates/forecasts are provided for 2021-2023. In Turkmenistan, 2020 data is not presented due to absence of a uniform database.

Media Contact